
1. อัตราภาษีปกติตามประมวลรัษฎากรมีอัตราเดียวคือ 10% ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น แต่มีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวจาก 10% เป็น 6.3% บวกกับภาษีท้องถิ่นอีก 0.7% ดังนั้นภาษีที่ใช้ในปัจจุบันเป็น 7% ส่วนสินค้าและบริการบางประเภทที่มีลักษณะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย จะมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมอีกต่างหากด้วย
ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไป จึงต้องเสียภาษีในอัตรา 7% ยกเว้นกรณีดังนี้
2. อัตราภาษี 0% มีผลเท่ากับไม่ต้องเสียภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และยังได้รับคืนภาษีอีกด้วย โดยมีลักษณะกิจการดังนี้
- การส่งออกสินค้า ของผู้ประกอบการจดทะเบียน
- การให้บริการที่เกิดขึ้นในไทยและต่างประเทศ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ข้อสังเกต คือ เป็นการที่ให้บริการในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยที่ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% เฉพาะส่วนที่ให้บริการในต่างประเทศ โดยการให้บริการนั้นคือการหาประโยชน์โดยที่ไม่ใช่การขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังรวมถึงการต่อเรือเดินทะเลการให้บริการซ่อมแซมเครื่องบินหรือเรือเดินทะเลและการให้บริการประกันวินาศภัยสำหรับทรัพย์สินในต่างประเทศ หรือสำหรับสินค้าที่ได้ส่งออกนอกราชอาณาจักร
- การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเครื่องบินหรือเรือ ที่ให้บริการโดยนิติบุคคล (ถ้านิติบุคคลได้จัดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ จะได้รับอัตราภาษี 0% เฉพาะกรณีที่ประเทศนั้นมีกฎหมาย อัตราภาษี 0% เหมือนของไทย)
- การขายสินค้าหรือการให้บริการแก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- การขายสินค้าหรือการให้บริการองค์การสหประชาชาติ ทบวงชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล
- การขายสินค้าหรือบริการ หรือการปรับปรุงสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วยกัน หรือระหว่างผู้ประกอบการในเขตปลอดภาษี ไม่ว่าจะอยู่เขตเดียวกันหรือไม่ รวมทั้งผู้ประกอบกิจการระหว่างเขตทัณฑ์บนกับเขตปลอดภาษี
863total visits,2visits today