Menu Close

บทความ: รูปแบบของใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง

ข้อความในใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทำสำหรับการขายสินค้าหรือบริการ จำต้องจัดทำขึ้นเป็นภาษาไทย หากจะทำเป็นภาษาต่างประเทศต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีเสียก่อน เว้นแต่ว่าจัดทำเป็นภาษาอังกฤษให้ถือว่าได้รับการอนุมัติจากอธิบดีแล้ว แต่หน่วยเงินในใบกำกับจะต้องเป็นหน่วยเงินของไทย โดยทั่วไปแล้วใบกำกับภาษีจะมี 2 รูปแบบ มีลักษณะดังนี้

   1. ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ต้องมีข้อความหรือรายการตามที่กำหนด ดังนี้
       1.1 จะต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี”
       1.2 ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี ถ้ามีตัวแทนหรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีแทน ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้แทนด้วย ตั้งแต่ปี 2558 กำหนดให้มีการระบุสาขาของผู้ขายด้วย
       1.3 ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่ปี 2558 ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และขาสาของผู้ซื้อด้วย
       1.4 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
       1.5 ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าและบริการ
       1.6 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ ให้แยกเป็นมูลค่าสินค้า และ ภาษีให้ชัดเจน
       1.7 วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
       1.8 ข้อความอื่นๆ ตามที่อธิบดีกำหนด

   2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ จะต้องออกด้วยการเขียนหรือเครื่องบันทึกการเก็บเงินก็ได้ แต่การออกด้วยเครื่องเก็บเงินจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนและอย่างน้อยจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้
       2.1 มีคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”
       2.2 ชื่อหรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้ออกใบกำกับภาษี
       2.3 หมายเลข หรือ ลำดับใบกำกับภาษี
       2.4 ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าสินค้าและบริการ
       2.5 ราคาสินค้า หรือราคาค่าบริการ จะต้องระบุว่ารวมภาษีแล้ว
       2.6 วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
       2.7 ข้อความอื่นตามที่อธิบดีกำหนด

984total visits,2visits today